คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากประสงค์ขออยู่ต่อในราชอาณาจักร จะต้องยื่นเรื่องที่ใดครับ?
หากต่างด้าวทำงานในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อได้ที่ บก.ตม.1 ดูรายละเอียดการย้ายที่ทำการของ บก.ตม.1 (กรุงเทพมหานคร เดิม)ไปยังศูนย์ราชการฯ อาคารบี ชั้น 2 ด้านทิศใต้ได้ที่ Website ==> http://www.immigration.go.th/nov2004/move.html ค่ะ
คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากประสงค์ขออยู่ต่อในราชอาณาจักร จะต้องยื่นเรื่องที่ใดครับ?
หากคนต่างด้าวทำงานในเขตพื้นที่จังหวัดอื่น (ไม่ใช่กรุงเทพมหานคร) สามารถตรวจสอบหมายเลขติดต่อของด่านตรวจคนเข้าเมืองประจำจังหวัดต่างๆ ได้ที่==>http://immigration.go.th/nov2004/base.php ค่ะ
หากคนต่างด้าวได้ขอวีซ่า ประเภท Non-Immigrant type “B” เข้ามาทำงานในไทย กรณีเอกสารไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ แต่ต้องการขยายเวลาในการอยู่ในประเทศไทย สามารถทำได้กี่วัน และต้องใช้เอกสารใดบ้างคะ?
กรณีคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant type “B” แต่ยังไม่มี Work Permit สามารถยื่นขออยู่ต่อได้เพียง 7 วัน (นับจากวันอนุญาตครั้งสุดท้าย) เท่านั้น
เอกสารที่ใช้ประกอบ :
1. แบบฟอร์มตม.7 พร้อมติดรูปถ่าย,
2. ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท และ
2. สำเนาหนังสือเดินทาง ค่ะ
คนต่างด้าวต้องการจะขอวีซ่าเพื่อติดตามผู้ได้สิทธิ์ขออยู่ต่อเพื่อทำงานและได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ 1 ปีแล้วจะต้องใช้วีซ่าอะไรในการเดินทางเข้าประเทศไทยครับ?
คนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ
มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตในการขออยู่ต่อเพื่อติดตามผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ อย่างไรบ้างครับ?
สามารถตรวจสอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ได้ที่ Website ==>http://www.immigration.go.th/nov2004/doc/temporarystay/policy777-2551_th.pdf โดยดูข้อมูลที่ข้อ 2.20 ค่ะ
พ่อ แม่ สามารถยื่นติดตามผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจได้หรือไม่ครับ?
กรณีบิดาหรือมารดาจะติดตามคนต่างด้าวซึ่งยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรด้วยเหตุผลทางธุรกิจ นั้น คนต่างด้าวจะต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยคนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ
ภรรยาสามารถยื่นติดตามสามีผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจได้หรือไม่ครับ?
กรณีคู่สมรสจะติดตามคนต่างด้าวซึ่งยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรด้วยเหตุผลทางธุรกิจ นั้น คู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย โดยคนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ
ลูกสามารถยื่นติดตามพ่อ-แม่ ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ ได้หรือไม่ครับ?
กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสขออยู่ในความ อุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนและต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ โดยคนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ
พ่อตา แม่ยาย สามารถยื่นติดตามลูกเขยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ ได้หรือไม่ครับ?
พ่อตา แม่ยายไม่สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อติดตามลูกเขยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจแล้ว ได้เนื่องจากไม่มีระบุไว้ในหลักเกณฑ์ค่ะ
การขออยู่ต่อเพื่อติดตามผู้ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจแล้ว จะต้องใช้เอกสารประกอบอะไรบ้างครับ?
รายละเอียดรายการเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยื่นคำร้องดังนี้
1. แบบคำขอ ตม.7 รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และ ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ได้สิทธิและผู้ติดตาม
3. สำเนาใบขออนุญาตทำงาน (ผู้ได้สิทธิ)
4. หนังสือรับรองผู้ติดตาม
5. หลักฐานครอบครัว (ทะเบียนสมรส สูติบัตร อื่นๆ) โดยผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย และรับรองลายเซ็นโดยกรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ
หากประสงค์จะยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อติดตามผู้ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจแล้ว สามารถยื่นเรื่องได้ที่ใด?
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อให้กับผู้ติดตามนั้นให้ติดต่อ ตม. เดิมตามที่ท่านได้เคยยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อการธุรกิจให้คนต่างด้าวผู้มี work permit
- หากต่างด้าวหลัก (ผู้มี work permit) ทำงานในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อได้ที่ บก.ตม.1 ดูรายละเอียดการย้ายที่ทำการของ บก.ตม.1 (กรุงเทพมหานคร เดิม)ไปยังศูนย์ราชการฯ อาคารบี ชั้น 2 ด้านทิศใต้ได้ที่เวปไซด์ ==> http://www.immigration.go.th/nov2004/move.html
หากคนต่างด้าว หมดวาระ หรือลาออกจากบริษัทก่อนครบกำหนดอนุญาต (วีซ่า) คนต่างด้าวจะยังคงสามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกหรือไม่?
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หากพ้นหน้าที่หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานใหม่จะถือว่าการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเดิมนั้นสิ้นสุดลงทันที ทั้งนี้ รวมถึงครอบครัวผู้ใช้สิทธิ์ติดตามคนต่างด้าวผู้นั้นด้วย
- หากคนต่างด้าวประสงค์อยู่ต่อ ให้เตรียมเอกสาร ตม.7 สำเนาหนังสือเดินทาง รูปถ่าย 1 ใบ พร้อมค่าธรรมเนียม 1,900 บาท เพื่อยื่นคำร้องขออยู่ต่อ ได้อีก 7 วัน (นับวันที่พ้นหน้าที่เป็นวันแรก)
หากคนต่างด้าว หมดวาระ หรือลาออกจากบริษัท คนต่างด้าวหรือนายจ้างจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง?
หากคนต่างด้าวพ้นหน้าที่หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานใหม่ บริษัทเดิมที่คนต่างด้าวทำงานจะต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ มาแจ้งตม.เพื่อดำเนินการยกเลิกวีซ่า
1.จดหมายถึงสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแจ้งคนต่างด้าวพ้นหน้าที่ (โดยจะต้องระบุวันที่ออกจากงานให้ชัดเจน หากไม่ระบุวันที่ฯ จะถือว่าออกจากงานตามวันที่ที่ออกจดหมาย) ลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
3. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท พร้อมลงชื่อกำกับรับรองสำเนาถูกต้อง
4. หนังสือเดินทางของคนต่างชาติผู้พ้นหน้าที่ (เจ้าหน้าที่ต้องประทับตราพ้นหน้าที่ในเล่มหนังสือเดินทางดังกล่าวค่ะ)
ทั้งนี้การแจ้งพ้นหน้าที่(ยกเลิกวีซ่า)จะทำให้การอนุญาตอยู่ต่อในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงทันที และจะต้องมาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งพ้นหน้าที่ในวันที่เลิกจ้าง (วันสุดท้ายของการทำงาน) ค่ะ
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ 1 ปี จะต้องแจ้งที่พักอาศัย(ทุก 90 วัน) หรือไม่?
ต้องแจ้งที่พักอาศัยเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรครบทุก 90 วัน โดยใช้แบบฟอร์ม ตม.47
กรณีเป็นเจ้าของบ้าน มีคนต่างด้าวเข้ามาพักอาศัยอยู่ด้วยจะต้องทำอย่างไรบ้าง(ให้ตัวแทนมาดำเนินการแทนได้หรือไม่)?
เจ้าของบ้านจะต้องแจ้งคนต่างด้าวมาเข้าพักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ซึ่งอาจแจ้งด้วยตนเอง หรือ มอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือมาแจ้งแทนได้ โดยกรอกแบบฟอร์มการแจ้ง (ตม.30) ให้ครบถ้วน หรืออาจแจ้งได้โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
การแจ้งที่พักอาศัย เมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน ของคนต่างด้าวใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
กรณีที่คนต่างด้าวมาดำเนินการแจ้งฯ ด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ใช้เอกสารดังนี้
หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว (ฉบับจริง)
แบบฟอร์ม ตม.47 ซึ่งกรอกและลงลายมือชื่อของคนต่างด้าวแล้ว
ใบรับแจ้งฯ ครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)
การแจ้ง 90 วัน ถ้าแจ้งหลังครบกำหนดมีโทษหรือไม่ ?
- กรณีมารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่เอง มีโทษปรับ 2,000 บาท
-หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบจะถูกปรับ 4,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท
นับจากวันครบกำหนดจนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง
การแจ้งที่พักอาศัย กรณีอยู่เกินกว่า 90 วัน ให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนได้หรือไม่ อย่างไร ?
สามารถให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนได้ แต่ต้องไม่เกินกำหนดที่จะต้องแจ้ง โดยนำหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว และแบบฟอร์ม ตม.47 ซึ่งคนต่างด้าวลงลายมือชื่อไว้แล้ว พร้อมทั้งใบรับแจ้งครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)
การแจ้งที่พักอาศัย กรณีอยู่เกินกว่า 90 วัน แจ้งได้ที่ไหน ?
กรณีที่มาแจ้งฯ ด้วยตนเอง หรือมีผู้อื่นมาดำเนินการแทนให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ที่ผู้นั้นพักอาศัยอยู่
คนต่างด้าวที่พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะต้องรายงานตัวแจ้งอยู่เกินกว่า 90 วันที่ไหน ?
งานแจ้งอยู่เกิน 90 วัน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจะต้องรายงานตัวที่
กองกำกับการ 2 กองตรวจคนเข้าเมือง 1
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
การแจ้งที่พักอาศัย ของคนต่างด้าวกรณีอยู่เกินกว่า 90 วัน หากคนต่างด้าวไม่มาแจ้งด้วยตนเองหรือมอบให้ผู้อื่นมาดำเนินการ สามารถแจ้งฯ ด้วยวิธีอื่นใดอีกบ้าง และหากมีจะต้องดำเนินการอย่างไร ?
คนต่างด้าวสามารถดำเนินการ แจ้งฯ ได้โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยมีเอกสารและวิธีการดำเนินการดังนี้
1) สำเนาหนังสือเดินทางหน้ารูปถ่าย+ชื่อ+นามสกุล,ตราประทับวีซ่า ครั้งล่าสุด,ตราประทับ ตม.ขาเข้าของวันเดินทางเข้าประเทศครั้งสุดท้าย,ตราประทับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยครั้งล่าสุด
2) สำเนาบัตร ตม.6 (TM.6) หน้า-หลัง
3) ใบรับแจ้งอยู่เกิน 90 วัน (ใบนัดครั้งสุดท้าย กรณีที่ไม่มีการเดินทางออกนอกประเทศ) ใช้ใบจริงเท่านั้น
4) กรอกแบบฟอร์ม ตม.47 ให้ครบถ้วน พร้อมคนต่างด้าวลงลายมือชี่อให้เรียบร้อย
5) ซอง จม. ขนาด 6.5X9 นิ้ว พร้อมติดแสตมป์ 10 บาท โดนจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเองเพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ส่งใบนัดครั้งต่อไป พร้อมแนบฟอร์ม ตม.47 กลับไปยังท่าน
6) นำเอกสารตามข้อ 1-5 ใส่ซองเอกสารส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยจะต้องส่งก่อนวันครบกำหนดแจ้งครั้งต่อไป 7 วัน มายังที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองที่คนต่างด้าวพักอาศัยอยู่ (เก็บใบลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐานด้วย)
*********************
*