จดทะเบียนธุรกิจ
(รับจดทะเบียนบริษัท, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, รับจดทะเบียนพาณิชย์)

 บริษัท ซี.เค.เอ.การบัญชีและกฎหมาย จำกัด (CKA Accounting and Law Co.,Ltd.)
เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจดทะเบียนธุรกิจ ด้วยประสบการณ์การทำงานในการจดทะเบียนธุรกิจที่ยาวนานกว่า 20ปี
ทำให้ทีมงาน  CKAเป็นทีมงานมืออาชีพที่มีความรู้และมีความชำนาญในการจดทะเบียนบริษัทจำกัด/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
รับจดทะเบียนบริษัท, รับจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้าออนไลน์), จดทะเบียนการค้า, จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุกประเภท,
รับเปลี่ยนห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็น บริษัท, ขอใบอนุญาตนำเที่ยว, ขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา-บุหรี่  เป็นต้น

 ด้วยระบบการทำงานที่รวดเร็วถูกต้องและเป็นมาตรฐาน ดำเนินงานตามกฎระเบียบข้อกฎหมาย
และรักษาความลับของลูกค้า บริการท่านด้วยอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล ทำให้  CKA 
เป็น ที่ยอมรับของลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ บริษัท ห้างหุ้นส่วน กิจการ
ร้านค้าและหน่วยงานราชการด้วยดีเสมอมาตลอดระยะเวลา 20 ปี

 

“การติดต่อกับหน่วยงานราชการต่างๆ มักมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
และต้องใช้เวลา  ให้ทางเราได้ช่วยดูแลท่านแทน”
image

บริการครบวงจร  

   รับจดทะเบียนพาณิชย์, รับจดทะเบียนร้านค้า 2,000 บาท
   รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด 3,900 บาท (รวมทุกอย่าง)
   รับจดทะเบียนบริษัท 8,810 บาท (รวมทุกอย่าง)

ข้อมูลที่จะต้องเตรียมสำหรับจดทะเบียนบริษัท
1.  ชื่อบริษัท ไทย/อังกฤษ (พร้อมชื่อสำรอง)  รวม 2-3 ชื่อ
2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน พร้อมเบอร์โทร และอีเมล์
3. สัดส่วนของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
4. กรรมการและผู้มีอำนาจลงนาม
5. ทุนจดทะเบียน
6. ที่ตั้งสำนักงาน พร้อมรหัสประจำบ้าน
7. แผนที่ตั้งสำนักงาน 

 CKA มีทีมงานที่มีความรู้ ประสบการณ์โดยตรง พร้อมให้คำปรึกษา ในด้านรับจดทะเบียนบริษัท, รับจดบริษัท,
รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.), รับจดทะเบียนการค้า, รับจดทะเบียนร้านค้า, รับจดทะเบียนพาณิชย์ (ขายออนไลน์),
ทะเบียนพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์, รับจดเพิ่มทุน, รับจดลดทุน, รับจดย้ายที่อยู่บริษัท, รับจดเพิ่มสาขา, รับจดลดสาขา,
เปลี่ยนชื่อบริษัท, จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม เปลียนแปลงทุกประเภทแบบครบวงจร บริการรวดเร็ว ประทับใจ เน้นคุณภาพ

CKA แจกโปรโมชั่น   
 ใบสำคัญจดทะเบียนบริษัทฯ
 หนังสือรับรองบริษัทฯ พร้อมวัตถุประสงค์
 จองชื่อบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์
 หนังสือบริคณห์สนธิฉบับจัดตั้ง
 รายงานการประชุมฉบับจัดตั้ง
 บอจ.3
 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
 ขึ้นทะเบียน ระบบ E-Filling กระทรวงพาณิชย์
 ฟรีออกแบบตรายาง
 ฟรีตรายางบริษัท
 ฟรีไฟล์ตราประทับ (.ai, .jpg, .png,)
 ฟรีขอรหัส E-Filing กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 ฟรีขอรหัส E-Filing กับกรมสรรพากร
 ฟรีแบบฟอร์ม ใบ หัก ณ ที่จ่าย
 ฟรีแบบฟอร์มเงินสดย่อย
 ฟรีแบบฟอร์มใบแจ้งหนี้
 ฟรีแบบฟอร์มใบรับเงิน (กรณีซื้อสินค้าจากบุคคลธรรมดา)
 ฟรีแบบฟอร์มใบรับเงิน (กรณีจ่ายค่าจ้าง , ค่าบริการให้แก่บุคคลธรรมดา)
 ฟรีแบบฟอร์มใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
 ฟรีแบบฟอร์มใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน
 ฟรีแบบฟอร์มใบรับสินค้า
 ฟรีแบบฟอร์สัญญาเช่ารถ
 ฟรีแบบฟอร์มสัญญาเช่าสำนักงาน
 ฟรีแบบฟอร์มใบสรุปเบิกเงินสดย่อย
 ฟรีแบบฟอร์มรายงานการประชุมพิจารณาเรื่องเบิกค่าใช้จ่าย
 ฟรีแบบฟอร์มรายงานการเดินทางไปติดต่องาน
 ฟรีแบบฟอร์มใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
 ฟรีแบบฟอร์มหนังสือยินยอมให้พนักงานเบิกค่าใช้จ่ายในการใช้ทรัพย์สินส่วนตัว
 ฟรีแบบฟอร์มรายงานสินค้าแบะวัตถุดิบ
 ฟรีแบบฟอร์มทะเบียนคุมเช็ครับล่วงหน้า
 ฟรีแบบฟอร์มทะเบียนคุมเช็คจ่ายล่วงหน้า
 ฟรีแบบฟอร์มใบคุมการเคลื่อนไหวบัญชีเงินฝากธนาคาร
 ฟรีแบบฟอร์มสัญญากู้ยืมเงินจากกรรมการ
 ฟรีแบบฟอร์มสัญญาซื้อขาย
 ฟรีแบบฟอร์มสัญญากู้ยืมเงิน (ทั่วไป)
 ฟรีคู่มือบัญชี 1 ชุด

 

 

คำถามที่พบบ่อย 
บริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่างกันอย่างไร??
• เรื่องของความรับผิดชอบ  บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งคำว่าจำกัดนั้นก็มาจากการที่จำกัดความรับผิดชอบตามทุนจดทะเบียนของเรานั่นเอง ในส่วนของบริษัทจะจำกัดความรับผิดชอบให้กับทุกคนที่เป็นหุ้นส่วนหากมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจจะรับผิดชอบตามเปอร์เซ็นต์หุ้นที่แต่ละคนได้ถือไว้ ในทางกลับกันถ้าเป็นการจดทะเบียนแบบห้างหุ้นส่วนจะต้องมีคนหนึ่งในหุ้นส่วนทั้งหมดเป็นคนถือหุ้นส่วนผู้จัดการ ที่จะต้องรับผิดชอบไม่กำจัดจำนวน นั่นหมายความว่าคนที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะมีความเสี่ยงกว่าหุ้นส่วนคนอื่น ซึ่งแตกต่างจากบริษัทจำกัดที่ทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบเท่ากัน
• ราคาค่าธรรมเนียมในการจัดตั้ง อย่างที่เราได้ทราบกันไปในข้างต้นแล้วว่า การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามารถจัดตั้งได้ง่ายกว่าบริษัทและมีราคาค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าเช่นกัน

ทุนจดทะเบียนต้องเท่าไหร่??
สำหรับผู้ที่จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนแล้ว ข้อควรระวังที่พึงต้องทราบก็คือ ทุนจดทะเบียน แม้ว่าท่านจะทำการจดทะเบียนบริษัทมานานแล้วหรือกำลังจะจดทะเบียน เรื่องของทุนจดทะเบียนก็ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความสับสนกันอยู่ สำหรับผู้ประกอบการแล้วเรื่องที่ควรจะทราบอันดับแรกก็คือ ผู้ประกอบการต้องมีเงินทุนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับจดทะเบียนอยู่ก่อนมากกว่าเงินจดทะเบียน 25% โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัททั่วไปจะนิยมจดทะเบียนบริษัทกันอยู่ที่  1 ล้านบาท ซึ่งก็ทำให้หลายคนเกิดคำถามสงสัยขึ้นมาว่าทำไมผู้ประกอบการจึงนิยมจดทะเบียนกันอยู่ที่ทุนนี้ ซึ่งหากถามว่าบริษัทที่จะทำการจดทะเบียนนั้นสามารถจดเพิ่มขึ้นหรือน้อยกว่านี้ได้หรือไม่ 

คำตอบ คือ สามารถทำได้แต่หากมองในมุมกลับกันจะพบว่าเวลาที่บริษัทเราต้องการทำธุรกิจซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสินค้าขึ้นมาและจำเป็นต้องมีการทำสัญญาซื้อขายในเรทราคาที่สูงขึ้น แน่นอนว่าความน่าเชื่อถือขององค์กรคุณจากเงินทุนการจดทะเบียนบริษัทนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเกิดความราบรื่น ทั้งยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทเพื่อให้คู่ค้าของเราเกิดความมั่นใจในการที่จะมาทำธุรกิจด้วยกับเรานั่นเอง

จด VAT แล้วดีอย่างไร (คนทำธุรกิจต้องรู้)  
1. จดVAT ขอคืนภาษีซื้อได้
ไม่ว่าของที่คุณซื้อนั้นจะเป็นการซื้อของใช้ในอุปกรณ์สำนักงาน (ของที่ซื้อมาเพื่อใช้ทำงาน) และของที่ซื้อมาขาย คุณก็สามารถนำมาขอคืนภาษีซื้อได้ (ในกรณีที่ของชิ้นนั้นมี VAT) นั่นหมายความว่า ต้นทุนของสินค้าของคุณจะถูกลง จากการ ขอคืนภาษีซื้อ นั่นเอง

2. การจัดการบัญชีที่เป็นระบบมากขึ้น
เพราะคุณจะต้องทำบัญชีรายงานภาษีซื้อ-ขายทุกเดือน และเก็บรายงานนี้ไว้เผื่อให้เจ้าหน้าที่สรรพากรมาตรวจ ทำให้คุณจะต้องลงบัญชีการซื้อ-ขายสินค้าอย่างเป็นระบบ ซึ่งการทำบัญชีอย่างเป็นระบบจะทำให้คุณสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกิจและพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับบัญชีธุรกิจง่ายขึ้นด้วย

3. เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ
ลูกค้าหรือคู่ค้าของคุณจำนวนมากมักจะขอใบกำกับภาษีทุกครั้ง ที่ทำการซื้อขายสินค้าและบริการ เพราะต้องการนำไปใช้ประโยชน์เป็นภาษีซื้อเพื่อลดภาระภาษีของฝ่ายลูกค้าเอง นั่นหมายความว่าหากคุณไม่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ อาจจะทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำธุรกิจไปก็ได้

4. กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT) ทำให้ธุรกิจของคุณมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะการจด VAT นั้น เหมือนเป็นการการันตีว่า ธุรกิจของคุณนั้นเป็นธุรกิจที่เชื่อถือได้ มีตัวตนอยู่จริง เพราะได้รับการตรวจจากกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว 

 หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
2. ออกใบกำกับภาษี
2.1 ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
2.2 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ
2.3 การออกใบกำกับภาษีด้วยอิเล็กทรอนิกส์
3. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
3.1 รายงานภาษีซื้อ
3.2 รายงานภาษีขาย
3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการยื่น
4.1 การยื่นแบบฯและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต
4.2 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
4.3 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ไทย
4.4 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ 1-5 และสำนักงานสรรพสามิตสาขาสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.5 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าที่นำเข้าสินค้า

 

ลำดับรายละเอียดงานบริการค่าบริการ (บาท)
R1จดทะเบียนบริษัทจำกัด2,000
R2จดทะเบียนบริษัทจำกัดและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สรรพากรพื้นที่2,590
R3จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด2,000
R4จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สรรพากรพื้นที่2,590
R5จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ธุรกิจบริการ + ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร2,000
R6จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ธุรกิจบริการ + ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร+จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม2,500
R7จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญธุรกิจซื้อมา-ขายไป+ขอเลขผู้เสียภาษีอากร+จดทะเบียนพาณิชย์2,480
R8จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญธุรกิจซื้อมา-ขายไป+ขอเลขผู้เสียภาษีอากร+จดทะเบียนพาณิชย์+จดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม2,680
R9จดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า)2,000
R10จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ธุรกิจออนไลน์)2,000
R11จดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า) +จดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม2,500
R12จดทะเบียนย้ายที่ตั้งสำนักงานในพื้นที่เดียวกัน (ที่กระทรวงพาณิชย์+สรรพากร)2,500
R13จดทะเบียนย้ายที่ตั้งสำนักงานต่างพื้นที่ (ที่กระทรวงพาณิชย์+สรรพากร)2,500
R14จดทะเบียนเพิ่ม/ลดสาขา ที่กระทรวงพาณิชย์2,000
R15จดทะเบียนเพิ่ม/ลดสาขา ที่กระทรวงพาณิชย์+สรรพากร+ดำเนินการเรื่องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน2,980
R16จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการเข้า- ออก2,500
R17จดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการ2,500
R18จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท + เปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)2,500
R19จดทะเบียนลดทุนบริษัท2,500
R20จดทะเบียนเพิ่มทุน / ลดทุน ห้างหุ้นส่วน2,500
R21จดทะเบียนแก้ไขชื่อนิติบุคคลและตราประทับ2,500
R22จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ2,000
R23จดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)2,000
R24จดทะเบียนแก้ไข เพิ่มเติม วัตถุประสงค์ ที่กระทรวงพาณิชย์ + สรรพากร2,500
R25จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม2,500
R26ขอมีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของชาวต่างชาติ1,000
R27จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ2,000
R28จดทะเบียนแก้ไขที่ตั้งตามทะเบียนราษฎร์1,000
R29จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ2,500
R30จดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด6,900
R31จดทะเบียนเลิกกิจการ / บริษัท / ห้างหุ้นส่วน พร้อมชำระบัญชี (กรณีไม่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม)5,500
R32จดทะเบียนเลิกกิจการ / บริษัท / ห้างหุ้นส่วน พร้อมชำระบัญชี (กรณีเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม)6,900
R33ขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้าง2,500
R34คัดหนังสือรับรองและเอกสารอื่น ๆ ครั้งละ750
R35ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว2,000
R36ขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา บุหรี่2,000
R37ลงทะเบียนผู้นำเข้าส่งออก (Paperless)2,000

** ค่าบริการข้างต้นไม่รวมค่าธรรมเนียมรัฐบาล

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้